analyticstracking
หัวข้อ   “ วัดระดับความเครียดของผู้ปกครอง ช่วงใกล้เปิดเทอม
                  พ่อแม่ ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.2 ระบุว่ามีความเครียดเรื่องค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมของ
        บุตรหลานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.6 ระบุว่าสภาพทางการเงินในช่วงนี้ มีปัญหาพอๆ กับปีที่แล้ว
        โดยร้อยละ 50.6 ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น ทำให้การเงินติดขัด ขณะที่ร้อยละ 58.4
        ระบุว่าเตรียมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายเรื่องการเรียนของบุตรหลานไว้แล้ว
                  ส่วนเรื่องที่อยากให้ภาครัฐส่งเสริม/ช่วยเหลือด้านการศึกษามากที่สุด คือ อยากให้เพิ่มเงินช่วยเหลือ
        ค่าอุปกรณ์การเรียนและชุดนักเรียน และช่วยค่าเทอมบางส่วนสำหรับโรงเรียนเอกชน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นเรื่อง “วัดระดับความเครียดของผู้ปกครอง ช่วงใกล้เปิดเทอม”
โดยเก็บข้อมูลจากผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษา
ทั้งสังกัดโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
รวมทั้งสิ้น 1,149 คน พบว่า
 
                  พ่อแม่ ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.2 ระบุว่าช่วงใกล้เปิดเทอม
ของบุตรหลานในปีนี้มีความเครียดเรื่องค่าใช้จ่ายอยู่ใน ระดับปานกลาง
รองลงมา
ร้อยละ 17.8 ระบุว่าเครียดมาก และร้อยละ 15.9 ระบุว่าเครียดน้อย
 
                  สำหรับปัญหาหลักที่ผู้ปกครองพบเจอในช่วงใกล้เปิดเทอมปีนี้
ร้อยละ 50.6 ระบุว่า มีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น ทำให้การเงินติดขัด

รองลงมาร้อยละ 41.1 ระบุว่าสินค้าเกี่ยวกับการเรียนแพงขึ้นและร้อยละ 38.1 ระบุว่า
เงินช่วยเหลือที่ได้จากรัฐไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจริง
 
                  ทั้งนี้ผู้ปกครองส่วนใหญ่ร้อยละ 58.4 ระบุว่าเตรียมเงินค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาของบุตร/หลาน
ในช่วงเปิดเทอมปีนี้ โดยการแบ่งเงินไว้สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่แล้ว
รองลงมาร้อยละ 42.2 ระบุว่าใช้เงินประหยัดกว่า
ช่วงปกติ เพื่อมีเงินพอกับค่าใช้จ่าย และร้อยละ 17.9 ระบุว่า รอเงินเดือนออก
 
                  เมื่อให้เปรียบเทียบกับปีที่แล้วสภาพการเงิน/ปัญหาในช่วงเปิดเทอมเป็นอย่างไรผู้ปกครองส่วนใหญ่
ร้อยละ 52.6 ระบุว่าพอๆ กับปีที่แล้ว
รองลงมาร้อยละ 40.1 ระบุว่าแย่กว่าปีที่แล้ว และร้อยละ 7.3 ระบุว่า ดีกว่าปีที่แล้ว
 
                  เรื่องที่อยากให้ภาครัฐส่งเสริม/ช่วยเหลือด้านการศึกษามากที่สุด นั้น ร้อยละ 38.9 ระบุว่า อยากให้
เพิ่มเงินช่วยเหลือค่าอุปกรณ์การเรียนและชุดนักเรียน
รองลงมาร้อยละ 15.7 ระบุว่าช่วยให้ค่าเทอมโรงเรียนเอกชน
ถูกลง /ช่วยอุดหนุนเงินบางส่วน/ ลดค่ากิจกรรมลง และร้อยละ 9.9 ให้คุณครูเอาใจใส่ในการสอนมากกว่านี้ เด็กจะได้ไม่ต้อง
เรียนพิเศษเพิ่ม
 
 
                 โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
             1. ความเห็นต่อค่าใช้จ่ายในช่วงใกล้เปิดเทอมของบุตรหลานในปีนี้ทำให้เกิดความเครียดมากน้อยเพียงใด
                 
                 
 
ร้อยละ
มากที่สุด
5.3
มาก
17.8
ปานกลาง
50.2
น้อย
15.9
น้อยที่สุด
10.8
 
 
             2. ปัญหาหลักที่ผู้ปกครองพบเจอในช่วงใกล้เปิดเทอมปีนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ตำตอบ)
                 

 
ร้อยละ
มีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น ทำให้การเงินติดขัด
50.6
สินค้าเกี่ยวกับการเรียนแพงขึ้น
41.1
เงินช่วยเหลือที่ได้จากรัฐไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจริง
38.1
รายได้ / รายรับลดลง /งานลดลง
29.3
โรงเรียนมีค่าเทอม/ค่าบำรุง/ค่ากิจกรรม เพิ่มขึ้น
28.5
จ่ายค่าเรียนพิเศษเสริมของลูกเพิ่มขึ้น
26.8
มีจำนวนบุตรเข้าเรียนเพิ่มขึ้น/ชุดนักเรียนเปลี่ยนแบบฟอร์มใหม่
24.7
 
 
             3. ผู้ปกครองเตรียมเงินค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาของบุตร/หลานในช่วงเปิดเทอมปีนี้จาก...
               (ตอบได้มากกว่า 1 ตำตอบ)


 
ร้อยละ
มีเงินที่แบ่งไว้สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่แล้ว
58.4
ใช้เงินประหยัดกว่าช่วงปกติ เพื่อมีเงินพอกับค่าใช้จ่าย
42.2
รอเงินเดือนล่าสุดออก
17.9
ขอยืมเงินจากญาติ/ พี่น้อง / เพื่อน ก่อน
11.9
จำนำทรัพย์สิน เช่น ทอง ทีวี ฯลฯ
8.2
กู้เงินนอกระบบ
6.8
รูดบัตรเครดิต เพราะสามารถผ่อน/จ่ายเดือนถัดไปได้
6.7
 
 
             4. หากเปรียบเทียบกับปีที่แล้วสภาพการเงิน/ปัญหาในช่วงเปิดเทอมเป็นอย่างไร
                 
                 
 
ร้อยละ
แย่กว่าปีที่แล้ว
40.1
พอๆกับปีที่แล้ว
52.6
ดีกว่าปีที่แล้ว
7.3
 
 
             5. เรื่องที่อยากให้ภาครัฐส่งเสริม/ช่วยเหลือด้านการศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรก
               (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)


 
ร้อยละ
อยากให้เพิ่มเงินช่วยเหลือค่าอุปกรณ์การเรียน ชุดนักเรียน ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะปัจจุบันซื้อได้ชุดเดียว
38.9
ช่วยให้ค่าเทอมโรงเรียนเอกชนถูกลง/ช่วยอุดหนุนเงินบางส่วน/ ลดค่ากิจกรรม
15.7
ให้คุณครูเอาใจใส่ในการสอนมากกว่านี้ เด็กจะได้ไม่ต้องเรียนพิเศษเพิ่ม
9.9
ให้มอบทุนการศึกษาให้เด็กเรียนดี เด็กยากจน
9.4
อยากให้มีการเรียนฟรีจริงๆ จนจบปริญญาตรี
5.8
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีบุตร หลาน เรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษา เกี่ยวกับ
ระดับความเครียดในช่วงใกล้เปิดเทอม ปัญหาหลักที่พอเจอในช่วงใกล้เปิดเทอม การเตรียมเงินเพื่อใช้จ่ายในช่วงใกล้
เปิดเทอม และการเปรียบเทียบสภาพการเงินกับปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน รวมถึงเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลส่งเสริม
หรือช่วยเหลือด้านการศึกษาเพิ่มเติม ทั้งนี้เพื่อให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนในระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษา ที่อาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครอง
ทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ได้แก่ เขตจอมทอง ดอนเมือง ดินแดง บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน
บางคอแหลม บางแค บางนา บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราษฎร์บูรณะ วังทองหลาง
และหลักสี่ ส่วนปริมณฑลได้แก่ปทุมธานีและสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์
อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,149 คน
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด(Open Ended)
ผู้ตอบสามารถตอบได้เองโดยอิสระ จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อน
บันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 3 - 8 พฤษภาคม 2562
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 11 พฤษภาคม 2562
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
402
35.0
             หญิง
747
65.0
รวม
1,149
100.0
อายุ:
 
 
             25 – 30 ปี
120
10.4
             31 – 40 ปี
452
39.3
             41 – 50 ปี
404
35.2
             51 ปีขึ้นไป
173
15.1
รวม
1,149
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
779
67.8
             ปริญญาตรี
310
27.0
             สูงกว่าปริญญาตรี
60
5.2
รวม
1,149
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
106
9.2
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
378
32.9
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
468
40.7
             เจ้าของกิจการ
38
3.3
             ทำงานให้ครอบครัว
9
0.8
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
143
12.5
             ว่างงาน /รอฤดูกาล / รวมกลุ่ม
7
0.6
รวม
1,149
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776